ความจำ
ความจำ คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลและเรียกข้อมูลออกมาใช้
ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่าถ้าจะเก็บข้อมูลอย่างเดียวถือว่าไม่ใช่การจำ เป็นแต่เพียงการเก็บ
การจำจึงต้องนำออกมาใช้ในยามที่ต้องการได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นความจำจึงกลายเป็นความสามารถในการทั้งเก็บและนำข้อมูลออกมาใช้นั่นเอง
วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของการจำ
บางครั้งมนุษย์ก็มีความรู้สึกที่ว่าสมองอ่อนล้า
เฉื่อย ชา และความจำถดถอย เรามีวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำให้กับสมองมาฝาก
1. บริหารสมองอยู่เสมอ
ยิ่งเราใช้สมองมากและบ่อย เท่า ไหร่ เซลล์สมองจะยิ่งเจริญเติบโตมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งนั่นก็จะส่งผลให้ความสามารถในการจำดีขึ้นตามไปด้วย วิธีบริหารสมอง เช่น การเล่นหมากฮอส ต่อจิ๊กซอว์ ในเวลาว่าง
ยิ่งเราใช้สมองมากและบ่อย เท่า ไหร่ เซลล์สมองจะยิ่งเจริญเติบโตมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งนั่นก็จะส่งผลให้ความสามารถในการจำดีขึ้นตามไปด้วย วิธีบริหารสมอง เช่น การเล่นหมากฮอส ต่อจิ๊กซอว์ ในเวลาว่าง
2. กินยาเสริมความจำ
มีผลการวิจัยยืนยันว่าหลังจาก การกินโสมในปริมาณ 400 มิลลิกรัมไปแล้ว 1 ชั่วโมง จะทำให้ความสามารถในการจำดีขึ้นและส่งผลต่อไปอีกถึง 6 ชั่วโมง แปะก๊วย ก็มีการยืนยันว่าส่งผลดีต่อระบบความจำเหมือนกัน เพราะจะไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในสมอง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในอเมริกาพบว่า Vinpocetine ที่สกัดได้จากต้น Periwinkle (ไม้ เลื้อยชนิดหนึ่งที่มีดอกสีฟ้า ใบเข้มเป็นมัน) นั้นจะช่วยเพิ่มความจำและความจดจ่อในสิ่งที่กำลังทำอยู่ ให้มากขึ้นได้
มีผลการวิจัยยืนยันว่าหลังจาก การกินโสมในปริมาณ 400 มิลลิกรัมไปแล้ว 1 ชั่วโมง จะทำให้ความสามารถในการจำดีขึ้นและส่งผลต่อไปอีกถึง 6 ชั่วโมง แปะก๊วย ก็มีการยืนยันว่าส่งผลดีต่อระบบความจำเหมือนกัน เพราะจะไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในสมอง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในอเมริกาพบว่า Vinpocetine ที่สกัดได้จากต้น Periwinkle (ไม้ เลื้อยชนิดหนึ่งที่มีดอกสีฟ้า ใบเข้มเป็นมัน) นั้นจะช่วยเพิ่มความจำและความจดจ่อในสิ่งที่กำลังทำอยู่ ให้มากขึ้นได้
3. กินผักและผลไม้สด
เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระ
ที่มีอยู่สูงในผักและผลไม้สดจะไปทำลายอนุมูลอิสระซึ่งเกิดจากการสะสมเป็นเวลานานของเนื้อเยื่อไขมันอันจะทำให้สมองอ่อนแอลง
และ ช่วยชะลออาการความจำถดถอยในผู้สูงอายุ
อาทิ ผมไม้ที่มีสีแดง ม่วง และน้ำเงิน โดยเฉพาะตระกูลเบอร์รี่ ต่างๆ
จะมีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดที่มีความเข้มข้น สูงที่เรียกว่า Anthocyanidin
4. ลดปริมาณแอลกอฮอล์
เพราะจะส่งผลต่อการปลดปล่อย สาระสำคัญในสมองโดยจะไปขัดขวางความสามารถในการสร้างความจำใหม่ ๆ โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นชื่อ ตัวเลข และเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ยิ่ง ไปกว่านี้ ความสามารถในการระลึกเหตุการณ์หรือ เรื่องราวเก่า ๆ ในอดีตก็จะถูกบั่นทอนไปด้วย
5. ออกกำลังกาย
ขณะที่ร่างกายของเราเคลื่อน
ไหวนั้นสมองจะได้รับเลือดมากเป็นพิเศษซึ่งนั่น หมายถึงว่าสมองจะได้รับกลูโคส
และออกซิเจนมากขึ้นทำให้สมองแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้
การออกกำลังกายยังไปเพิ่มประสิทธิภาพในการกระตุ้นความจำของสารเคมีในสมองที่ เรียกว่า Brain-Derived
Neurotrophic Factor ให้
ทำงานได้ดีขึ้นด้วย
6. จดบันทึกช่วยจำ
เพราะโดยธรรมชาติของสมองเรา นั้นเมื่อจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งตรงหน้า ความ สามารถในการจดจำสิ่งอื่นก็จะลดลง ฉะนั้นการย้าย ข้อมูลจากสมองมาเก็บไว้ในสมุดบันทึกอย่างคอมพิวเตอร์ ปาล์ม หรือโทรศัพท์มือถือ ก็เหมือนเป็นการช่วยลดความหนาแน่นของข้อมูลหรือเพิ่มพื้นที่ว่าง ในสมองเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะโดยธรรมชาติของสมองเรา นั้นเมื่อจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งตรงหน้า ความ สามารถในการจดจำสิ่งอื่นก็จะลดลง ฉะนั้นการย้าย ข้อมูลจากสมองมาเก็บไว้ในสมุดบันทึกอย่างคอมพิวเตอร์ ปาล์ม หรือโทรศัพท์มือถือ ก็เหมือนเป็นการช่วยลดความหนาแน่นของข้อมูลหรือเพิ่มพื้นที่ว่าง ในสมองเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. ทำสมาธิ
สมองของคนเรานั้นทำงานที่ความถี่ หรือ คลื่นสมองที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ เรากำลังทำหรือคิดอยู่ ภายใต้ความเครียดที่เกิดขึ้น คลื่นเบต้าของสมองจะทำงานเร็วขึ้นซึ่งจะส่งผล ให้สมองลืมสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นเราควรคิด ให้ช้าลง โดยการทำสมาธิ หลับ ตาลงช้าๆ หายใจเข้าเบาๆ ช้าๆ โดยตั้งสติอยู่ที่ปลายจมูก จาก นั้นหายใจออกช้าๆ โดยตั้งสติอยู่ที่ช่องจมูกทางขวา จากนั้นหายใจเข้าอีกครั้ง แต่ ครั้งนี้เวลาผ่อนลมหายใจออกให้ตั้งสติที่ช่องจมูกทางซ้าย ทำเช่นนี้สลับกันประมาณ 10 นาที ทุกวันรับรองว่าสมองตื้อๆ ตันๆ จะกลับมาโล่งโปร่งใสเหมือนเดิมนั่นเอง
สมองของคนเรานั้นทำงานที่ความถี่ หรือ คลื่นสมองที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ เรากำลังทำหรือคิดอยู่ ภายใต้ความเครียดที่เกิดขึ้น คลื่นเบต้าของสมองจะทำงานเร็วขึ้นซึ่งจะส่งผล ให้สมองลืมสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นเราควรคิด ให้ช้าลง โดยการทำสมาธิ หลับ ตาลงช้าๆ หายใจเข้าเบาๆ ช้าๆ โดยตั้งสติอยู่ที่ปลายจมูก จาก นั้นหายใจออกช้าๆ โดยตั้งสติอยู่ที่ช่องจมูกทางขวา จากนั้นหายใจเข้าอีกครั้ง แต่ ครั้งนี้เวลาผ่อนลมหายใจออกให้ตั้งสติที่ช่องจมูกทางซ้าย ทำเช่นนี้สลับกันประมาณ 10 นาที ทุกวันรับรองว่าสมองตื้อๆ ตันๆ จะกลับมาโล่งโปร่งใสเหมือนเดิมนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น