มนุษย์ทุกคนเมื่อมีความจำแล้ว
ก็จะมีบางอย่างที่พวกเรานั้นอาจจะลืมลงไปได้ด้วยสาเหตุต่างๆ
ซึ่งอาจจะเหมือนหรือต่างกันก็แล้วแต่ แต่ละตัวบุคคล สาเหตุหลักๆ มีดังนี้
1. การไม่ได้ลงรหัส
( Encoding Failure)
หมายถึง ไม่ได้มีการป้อนข้อมูลเข้าไปในความทรง
จําตั้งแต่แรก
2. การเสื่อมสลาย ( Decay) หมายถึง การเสื่อมสลายของรอยความจำตามกาลเวลาที่เกิดขึ้น ในความจําจากการรับสัมผัสและความจําระยะสั้น นั่นคือ
ข้อมูลเก่าจะเลือนหายไปและถูกแทนที่ด้วยข้อมูลที่ใหม่กว่า
ส่วนสาเหตุที่ทําให้ข้อมูล ที่เก็บในคลังข้อมูลของระบบความจําระยะยาวเสื่อมสลาย
คือ การไม่ได้ใช้ (Disuse)
3. การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ ( Cue-Dependent Forgetting ) หมายถึง การที่เรา มีความจําเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างแต่ไม่สามารถนําความจํานั้นออกมาใช้ได้
จนบ่อยครั้งที่ เรามักจะพูดว่า “ติดอยู่ที่ริมฝีปาก”
4. การรบกวน (Interfere) หมายถึง การเรียนรู้ใหม่มารบกวน
(ความจำของ) การเรียนรู้เดิม ทำให้เกิดการลืม โดยเกิดขึ้นได้ทั้งในความจำระยะสั้นและความจำระยะยาว
ซึ่งการรบกวนนี้มักจะเป็นสาเหตุสำคัญของการลืม โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) Retroactive
Inhibition คือ
การเรียนรู้ใหม่ไปรบกวนการเรียนรู้เดิม ทำให้ลืมสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อนหน้านี้
2) Proactive Inhibition คือ สิ่งที่เรียนรู้เดิมรบกวนสิ่งที่เรียนรู้ใหม่
ทำให้จำสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ไม่ได้
5. การเก็บกด ( Repression) หมายถึง การลืมความจำที่เจ็บปวด น่าอาย ผิดหวัง ไม่ พอใจ หรือไม่ชอบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้
จะถูกเก็บกดอยู่ในจิตใต้สำนึก เช่น ลืมความล้มเหลวในอดีต ลืมเหตุการณ์อันเลวร้าย
ลืมชื่อบุคคลที่ไม่ชอบ ลืมการนัดหมายที่ไม่ต้องการไป ฯลฯ ซึ่ง แตกต่างจากการระงับ(Suppression)
ที่หมายถึง การหลีกเลี่ยงที่จะไม่คิดถึงบางสิ่งบางอย่าง เช่น หลีกเลี่ยงที่จะไม่คิดถึงการสอบในสัปดาห์หน้า
โดยเป็นสภาวะที่จิตใจเกิดความขัดแย้ง แต่เป็นสิ่งที่เรารู้ตัว เพราะเป็นการกระทำในระดับจิตสำนึก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น